แจกสูตรคำนวณค่าไฟง่าย ๆ พร้อมทำความรู้จักค่าต่าง ๆ บนใบแจ้งค่าไฟ

สูตรคำนวณค่าไฟด้วยตัวเอง

การใช้ไฟของแต่ละบ้านจะไม่เหมือนกัน บ้างก็ใช้ในการทำงาน บ้างก็ใช้ในการเปิดแอร์ บ้างก็ใช้ในการทำครัวอย่างเช่น การใช้ เตาอบ และ เตาไฟฟ้า ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกสิ่งต่างๆ ให้เราได้อยู่สบายมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับค่าไฟที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในบทความนี้จึงจะพาทุกคนไปดู สูตรคำนวณค่าไฟ กัน

อะไรอยู่ในบิลค่าไฟบ้าง?

ข้อมูลในบิลค่าไฟมีอะไรบ้าง

ก่อนจะคำนวณค่าไฟ ควรจะต้องมารู้ก่อนว่า ข้อมูลแต่ละอย่างนั้นมีความหมายอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้คำนวณได้อย่างถูกต้อง

1. ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไปจะเป็นข้อมูลของชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า ที่อยู่ วันและเวลาในการอ่านหน่วย เป็นค่าไฟประจำเดือนที่เท่าไหร่ ฯลฯ

2. ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า

ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าจะประกอบไปด้วย เลขอ่านครั้งก่อน – หลัง จำนวนหน่วยที่ใช้และประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง 

3. ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ

ค่าพลังงานไฟฟ้า

ค่าพลังงานไฟฟ้าคือต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้า ก่อสร้างไฟฟ้า ระบบขนส่งไฟฟ้า ฯลฯ 

ค่าบริการรายเดือน

ค่าใช้จ่ายในการบริการจดหน่วยไฟฟ้า ค่าจัดทำและค่าจัดส่งบิลไฟฟ้า 

ค่า Ft

ค่า FT คือต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ, อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงราคาเชื้อเพลิง  ฯลฯ และเนื่องจากปัจจัยต่างๆที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ทำให้เรตของ FT ในแต่ละช่วงเวลา ก็จะมีเรตที่ต่างกันนั่นเอง  

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

เช่นเดียวกับสินค้าหรือบริการประเภทอื่น ๆ ที่เมื่อได้ราคารวมของค่าไฟแล้ว ก็ต้องมีการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพิ่มอีก 7%

สูตรคำนวณค่าไฟด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ

สูตรคำนวณค่าไฟด้วยตัวเอง

วิธีการคำนวณหน่วยการใช้งานไฟฟ้า จะสามารถหาได้โดยการที่ใช้สูตร 

(กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า / 1,000) x จำนวนที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต) 

สูตรคำนวณหน่วยการใช้งานไฟฟ้า

สูตรการคำนวณค่าไฟฟ้า จะมีเรตการใช้ไฟฟ้าที่จะคำนวณโดยเรตนี้จะคำนวณหลังจากที่รู้หน่วยการใช้ไฟฟ้าแล้ว โดยค่าพลังงานไฟฟ้าจะมีเรตในการคำนวณเป็นขั้น โดยเรตที่จะยกมาให้ดูต่อไปนี้เป็นเรตสำหรับบ้านประเภท 1.2 คือบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์เกิน 5 แอมป์ และ บ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์แต่มีการใช้หน่วยไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย 

  • หากใช้ไฟฟ้าอยู่ใน 150 หน่วยแรก (1-150 หน่วย) จะมีค่าบริการอยู่ที่หน่วยละ 3.2484 บาท 
  • 250 หน่วยถัดไป (151-400 หน่วย) ค่าบริการหน่วยละ 4.2218 บาท 
  • หน่วยที่เกินกว่า 400 หน่วย (400 หน่วยขึ้นไป) ค่าบริการหน่วยละ 4.4217 บาท 

ทั้งนี้ เรตการคำนวณไฟฟ้ามีอยู่หลายเรต ขึ้นอยู่กับว่าเข้าข่ายนิยามว่าเป็นบ้านประเภทใด โดยหากเข้าข่ายเป็นประเภท 1.1 ซึ่งคือบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ และ มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย ก็จะมีเรตการคำนวณค่าไฟฟ้าอีกแบบ 

สรุปบทความ

จะเห็นได้ว่าการคำนวณไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินกว่าที่จะทำความเข้าใจ โดยมีหลักการและวิธีคิดที่ค่อนข้างเข้าใจได้ง่าย และสามารถคำนวณเบื้องต้นคร่าว ๆ ด้วยตัวเองก่อนได้ ซึ่งประโยชน์ของการทำความเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ ในบิลค่าไฟ จะช่วยให้ท่านสามารถตรวจสอบได้ว่า บิลค่าไฟมีความผิดปกติหรือไม่ หากมีจะได้แจ้งกับทางการไฟฟ้าให้ตรวจสอบได้

Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • Rating
  • Price
  • Description
  • Content
  • Additional information
  • Add to cart
เปรียบเทียบสินค้า