เครื่องปรุง 3 ชนิดยอดฮิตติดบ้านอย่าง เกลือ น้ำปลา และซีอิ๊วขาว แน่นอนว่าทุกคนคงจะคุ้นเคยกับรสชาติเป็นการดีอยู่แล้ว โดยรสชาติหลักๆ ก็คือการให้ความเค็ม แม้ว่าจะเป็นเครื่องปรุงที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ กัน แต่กรรมวิธีในการทำเครื่องปรุงแต่ละอย่างแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด และในการทำแต่ละครั้งก็ต้องใช้ระยะเวลาในการทำนานพอสมควร ในส่วนของปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงทั้ง 3 อย่างนี้ก็มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ใครที่กำลังสงสัยว่าเครื่องปรุงชนิดใดมีปริมาณโซเดียมมากที่สุด บทความนี้คำตอบ สำหรับสายสุขภาพขอแนะนำให้รีบอ่านเลย
เครื่องปรุงอย่างเกลือ เกิดจากการนำน้ำทะเลมากักไว้ แล้วปล่อยให้แสงแดดและลมทำให้น้ำทะเลที่กักไว้ระเหยไปจนเหลือเพียงแค่เกลือ เรียกได้ว่าเกลือเป็นหนึ่งในตัวเอกของการปรุงอาหารเลยก็ว่าได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้สารพัดประโยชน์ในการประกอบเมนูอาหาร ไม่ว่าจะเป็น การหมักเนื้อสัตว์และผัก นำไปปรุงอาหารประเภท ต้ม ผัด หรือทอด เป็นต้น เกลือจึงเป็นเครื่องปรุงที่ต้องมีติดบ้านและมีการใช้แพร่หลายทั่วโลก โดยปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงอย่างเกลือ เมื่อเทียบกับเครื่องปรุงอื่นๆ ในปริมาณที่เท่ากัน เวลาใช้ในการปรุงอาหารจึงใช้น้อยมากๆ
น้ำปลา เกิดจากการหมักปลา ซึ่งจะใช้เป็นปลาไส้ตัน ปลากะตักใหญ่เป็นส่วนใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ น้ำปลา เครื่องปรุงรสชาติเค็มระดับกลาง นิยมนำไปปรุงอาหารประเภท ลาบ แกงไทย หรืออาหารต่าง ๆ ที่มีรสชาติจัดจ้าน ซึ่งเดิมทีน้ำปลาเกิดจากการหมักปลา แล้วนำไปผสมกับเกลือ ระยะเวลาในการหมักใช้เวลาค่อนข้างนาน อาจจะหลายเดือนไปจึงถึงหลายปีเลยก็ว่าได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและน้ำปลาแต่ละยี่ห้อ จะนิยมใช้เป็นปลาไส้ตันและปลากะตักใหญ่ ในการหมัก สำหรับปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงอย่างน้ำปลาถือว่าอยู่เป็นอันดับที่ 2 เมื่อเทียบกับเครื่องปรุงรสทั้ง 3 อย่างในปริมาณที่เท่ากัน โดยน้ำปลาเหมาะปรุงรส หรือสามารถทานแบบจิ้มได้
ซีอิ๊วขาว ทำมาจากการหมักเหมือนกัน แต่จะเป็นการหมักถั่วเหลืองเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้สุกก่อนแล้วนำไปผสมกับแป้งข้าวสาลีก่อนนำไปหมักประมาณ 1 อาทิตย์ ซีอิ๊วขาว เครื่องปรุงรสเค็มที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับ เกลือหรือน้ำปลา โดยที่ 1 ช้อนโต๊ะของซีอิ๊วขาว มีโซเดียมอยู่ที่ 960 – 1,490 มิลลิกรัมเท่านั้น
เนื่องจากรสชาติที่ไม่ได้เค็มมากจนเกินไป จึงเข้ากับอาหารได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น เมนูต้ม เมนูผัด หรือแม้กระทั่งเอาไปเหยาะทำเป็นน้ำจิ้มได้เลย ซึ่งซีอิ๊วขาว เกิดจากการหมักถั่วเหลือง แล้วผสมกับแป้งข้าวสาลี โดยที่ไม่มีการปรุงแต่งอย่างอื่นเพิ่มเติม ที่สำคัญใช้ระยะเวลาในการหมักสั้นมาก เพียง 5 – 7 วันเท่านั้น
เครื่องปรุงทั้ง 3 ประเภทมีระดับความเค็มและรสชาติที่แตกต่างกัน ดังนั้นปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุง 1 ช้อนของแต่ละเครื่องปรุงจึงเหมาะกับการทำอาหารที่ไม่เหมือนกัน เช่น น้ำปลาเหมาะกับอาหารที่เป็นแกงหรืออาหารรสจัด ซีอิ๊วขาวเหมาะสำหรับอาหารประเภทผัดหรือต้ม และเกลือเหมาะสำหรับนำไปหมักเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น
ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงทั้ง 3 ชนิด
เกลือ

น้ำปลา

ซีอิ๊วขาว
