“ภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้เป็นแบบไหน? จานชามที่มีอยู่ในครัวสามารถนำเข้าไมโครเวฟได้หรือเปล่า? แล้วกล่องพลาสติกที่มาพร้อมกับอาหารสามารถนำไปอุ่นในไมโครเวฟได้เลยไหม จะเป็นอันตรายหรือเปล่า?” เป็นหนึ่งในคำถามที่พบได้บ่อยในยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาหารสำเร็จรูปกันมากขึ้น
สำหรับใครที่กังวลว่าจะใช้ภาชนะเข้าไมโครเวฟผิดประเภท ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เพราะ Tecnogas จะพาคุณไปทำความรู้จักกับภาชนะที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ และไม่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้เอง รับรองว่าอ่านจบแล้วจะช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้ภาชนะเข้าไมโครเวฟได้อย่างเหมาะสม ไม่ต้องเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษเจือปนในอาหารที่เกิดจากการใช้ภาชนะผิดประเภทอีกต่อไป!
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้เป็นแบบไหน?
วิธีการสังเกตภาชนะไหนที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ที่ง่ายที่สุดก็คือ การมองหาสัญลักษณ์ Microwave Safe หรือ Microwavable ที่บรรจุภัณฑ์ของภาชนะนั้น ๆ ถ้าหากมีสัญลักษณ์เหล่านี้ปรากฏอยู่ ก็แสดงว่าสามารถนำไปใช้งานกับไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัย ไม่ตั้งกังวลว่าจะทำให้เกิดสารพิษปนเปื้อน หรือเกิดการระเบิดอย่างแน่นอน!
ตัวอย่างภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้ เช่น แก้ว เซรามิก กระเบื้อง พลาสติกประเภทที่ 5 PP (Poly Propylene)บรรจุภัณฑ์กระดาษบางประเภท ส่วนภาชนะที่ไม่สามารถนำเข้าสู่ไมโครเวฟได้โดยเด็ดขาด คือ ภาชนะและผลิตภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกทุกชนิด (ยกเว้น PP) กล่องโฟม อะลูมิเนียมฟอยล์ และเมลามีน
รวมภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้ที่ควรรู้
- จานสำหรับไมโครเวฟ : ทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต และก้นจานจะต้องอยู่เหนือจานหมุนอย่างน้อยประมาณ 3/16 นิ้ว (5 มม.) ซึ่งหากมีการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง อาจจะส่งผลให้การหมุนแตกได้
- เซรามิก : ใช้ภาชนะที่มีความปลอดภัยกับเตาอบไมโครเวฟ และจะต้องมีการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด ห้ามใช้จานที่มีรอยบิ่น หรือรอยแตกเป็นอันขาด
- เครื่องแก้ว : ต้องเป็นเครื่องแก้วที่ทนต่อความร้อนเท่านั้น และจะต้องมั่นใจว่าไม่มีขอบที่ทำมาจากโลหะ
- ถุงทำอาหาร : สามารถใช้กับเตาอบได้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ห้ามปิดถุงด้วยอุปกรณ์ที่เป็นโลหะเด็ดขาด และจะต้องทำรอยเพื่อให้ไอน้ำออกมาได้
- จาน และถ้วยกระดาษ : ควรใช้สำหรับการทำอาหาร หรืออุ่นอาหารในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และขณะทำอาหารจะต้องคอยเฝ้าหน้าไมโครเวฟอยู่เสมอ
- กระดาษซับน้ำมัน : ใช้คุมอาหารสำหรับการอุ่น และการซับไขมัน แต่ควรใช้ในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น
- กระดาษรองขนม : ควรใช้คลุมเพื่อที่จะป้องกันการกระจาย หรือนำไปห่ออาหารเพื่อที่จะอบ
- พลาสติก : ต้องมีฉลากระบุว่า สามารถใช้กับเตาอบไมโครเวฟได้เท่านั้น
- ที่ห่ออาหารพลาสติก : ควรใช้สำหรับที่ห่ออาหารไมโครเวฟเท่านั้น และไม่ควรให้ที่ห่ออาหารสัมผัสกับตัวอาหารโดยตรง
- เทอร์โมมิเตอร์ : สามารถนำเข้าเตาไมโครเวฟ เพื่อใช้วัดอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำอาหารได้
- กระดาษไข : นำมาคุมอาหารเพื่อป้องกันการกระจาย และเพื่อรักษาความชื้น
ภาชนะชนิดไหนที่ควรเลี่ยง หรือห้ามนำมาใช้งานกับไมโครเวฟ
- ถาดอะลูมิเนียม : ไม่ควรนำเข้าสู่ไมโครเวฟ เพราะอาจจะทำให้เกิดการนำไฟฟ้า
- ภาชนะที่เป็นโลหะ หรือมีขอบเป็นโลหะ : ขอบโลหะอาจจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดการนำไฟฟ้า
- ที่ปิดถุงโลหะ : อาจจะทำให้เกิดการนำไฟฟ้า และส่งผลทำให้เกิดเปลวไฟได้
- ถุงกระดาษ : อาจจะทำให้เกิดไฟไหม้ภายในไมโครเวฟได้
- โฟมพลาสติก : โฟมพลาสติกจะเกิดการละลาย เมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูง
- ไม้ : ไม้จะเกิดการแห้งเมื่อนำไปใส่ในไมโครเวฟ และอาจจะทำให้เกิดการแตกออกจากกันได้
เมื่อได้ทราบกันแล้วว่า ภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้เป็นแบบไหน ก็ควรเลือกภาชนะด้วยความใส่ใจ และตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ และปลอดภัยต่อไมโครเวฟ และสำหรับใครที่กำลังมองหาเตาไมโครเวฟดี ๆ พร้อมเตาอบแบบตั้งโต๊ะสักเครื่อง ให้ Tecnogas เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ เตาอบของเรามีครบทุกฟังก์ชันการทำงาน ตอบโจทย์ทุกเมนูอาหาร พร้อมรังสรรค์ทุกเมนูสุดอร่อย!