เขียงเป็นอุปกรณ์ทำครัวสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับใครที่ชอบทำอาหาร เพราะใช้เป็นพื้นผิวรองสับ หั่น เตรียมวัตถุดิบต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนนำไปปรุงอาหาร ซึ่งเขียงนั้นมีหลายแบบ หลายวัสดุ และหลายสีให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเขียง ทั้งประเภท ความแตกต่างของแต่ละแบบ รวมถึงเหตุผลว่าทำไมต้องแยกสีในการใช้งาน แถมยังมีเคล็ดลับการเลือกขนาดให้เหมาะกับการใช้งาน เพื่อให้การเตรียมวัตถุดิบอาหารเป็นไปอย่างสะดวก สะอาด ปลอดภัย พร้อมเปิดเตาแก๊สรอลุยทำอาหารอร่อย ๆ กันได้เลย
เขียง มีกี่ประเภท
โดยทั่วไปแล้ว เขียงมีอยู่ 4 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่
- เขียงไม้
- เขียงแก้ว
- เขียงหิน
- เขียงพลาสติก
ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป เรามาดูรายละเอียดกันดีกว่าว่าเขียงประเภทไหนเหมาะกับการใช้งานแบบใดบ้าง
เขียงไม้
เขียงไม้เป็นเขียงแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน เขียงไม้ที่ดีมักผลิตจากไม้เนื้อแข็ง ทำให้ทนทานต่อการใช้งาน ไม่แตกหักง่าย และยังช่วยถนอมคมมีดไม่ให้บิ่นเร็วเกินไป แต่ข้อเสียคือมีรูพรุนและอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย จึงต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยล้างด้วยน้ำผสมน้ำส้มสายชูเล็กน้อย หรือโรยเกลือและขัดออก ผึ่งลมให้แห้งก่อนเก็บ ไม่ควรแช่น้ำทิ้งไว้นานเกินไป เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราและตะไคร่ได้
เขียงแก้ว
เขียงแก้วเป็นเขียงที่ผลิตจากกระจกนิรภัยชนิดพิเศษ มีความแข็งแรง ทนทาน รองรับการใช้งานกับมีดคม ๆ ได้ดี อีกทั้งมีพื้นผิวที่เรียบเนียน ไม่มีรูพรุน ทำให้ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เหมาะสำหรับคนที่แพ้ง่ายหรือมีภูมิแพ้ แต่ข้อเสียของเขียงแก้วคือค่อนข้างหนัก เปราะบาง แตกหักได้ง่าย ลื่น ทำให้หั่นผักชนิดหัวและเนื้อปลาไม่ค่อยสะดวก
เขียงหิน
เขียงหิน ผลิตจากหินแกรนิตและหินอ่อน มีน้ำหนักมาก แข็งแรงทนทาน สามารถรองรับของมีคมได้ดีโดยไม่เป็นรอย จึงเหมาะกับการใช้งานหนัก ๆ อย่างการสับ ทุบ หรือหั่นเนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งมีพื้นผิวเรียบเนียน ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ดูแลรักษาความสะอาดง่าย แต่ข้อเสียคือ ยากต่อการเคลื่อนย้าย นอกจากนี้ยังอาจทำให้คมมีดที่ใช้งานบิ่นได้ง่ายเช่นกัน
เขียงพลาสติก
เขียงพลาสติกเป็นเขียงยอดนิยมของใครหลายคน เพราะมีราคาถูก น้ำหนักเบา สีสันสดใส ซื้อหาได้ง่าย แถมยังทำความสะอาดสะดวกเพียงแค่ใช้ฟองน้ำ ขัดในซิ้งค์ล้างจานก็เอี่ยมอ่องแล้ว เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไปในบ้าน ทั้งเตรียมผัก ผลไม้ หรืออาหารต่าง ๆ แต่ข้อเสียของคือทนความร้อนได้ไม่ดีนัก และเนื่องจากมีพื้นผิวที่อ่อนนุ่มกว่าจึงเป็นรอยตัดได้ง่าย ซึ่งรอยตัดนี้อาจกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและคราบสกปรกได้เช่นกัน
เขียง มีกี่ขนาดให้เลือกใช้งาน
การเลือกขนาดเขียงควรพิจารณาถึงปริมาณอาหารที่ปรุง พื้นที่ทำงานในครัว ขนาดของ และการใช้งานเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดตั้งแต่ 30×22.5×2 ซม. ไปจนถึง 120x50x3 ซม.
ทำไมการแยกสีเขียงในการใช้งานถึงสำคัญ
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเขียงต้องมีหลายสีด้วย จริง ๆ แล้วเหตุผลหลัก ๆ ของการแยกสีเขียงก็เพื่อ
- ลดการปนเปื้อนระหว่างอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ อาหารสุก อาหารดิบ
- ป้องกันการแพร่กระจายของแบคทีเรียจากเนื้อสัตว์ดิบสู่ผักผลไม้ หรืออาหารพร้อมทาน
- ง่ายต่อการจัดระเบียบและทำความสะอาด เช่น ล้างในซิ้งค์แยกตามสี หรือเลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชนิดเฉพาะได้
- อำนวยความสะดวกในการใช้งานหากมีผู้ช่วยหรือใช้งานหลายคนพร้อมกัน สามารถแยกใช้เขียงได้ตามสีที่แบ่งไว้
โดยปกติเขียงที่วางขายตามท้องตลาด มักมีรหัสสีเป็นมาตรฐานให้เลือกใช้ตามประเภทอาหาร ดังนี้
- สีเขียว ใช้กับผลไม้และผักต่าง ๆ
- สีเหลือง ใช้กับไก่ดิบ หรือเนื้อสัตว์ปีก
- สีแดง ใช้กับเนื้อวัว เนื้อหมูดิบ
- สีน้ำเงิน ใช้กับอาหารทะเลดิบ
- สีขาว ใช้กับขนม เบเกอรี่
- สีน้ำตาล ใช้กับเนื้อสัตว์สุก
- สีม่วง ใช้กับวัตถุดิบที่มีสารก่อภูมิแพ้ เช่น เห็ด เป็นต้น
ดังนั้นการแยกสีเขียงจึงช่วยป้องกันการปนเปื้อนระหว่างอาหารดิบและสุก สารก่อภูมิแพ้ และการรักษาสุขอนามัยที่ดีนั่นเอง
สรุปบทความ
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าเขียงมีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต่างกัน นอกจากนี้ขนาดของเขียงก็มีให้เลือกหลายแบบ และที่สำคัญคือการแยกสีเขียงตามประเภทของอาหาร จะช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อโรค แยกใช้งานได้อย่างถูกสุขลักษณะ และทำความสะอาดได้ง่ายขึ้นด้วย Tecnogas หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้เขียงในแบบที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับทุกครัวเรือน ส่วนถ้าใครกำลังมองหาเครื่องครัวสำหรับทำอาหารอยู่ สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์หน้าหลักของเราได้ มีให้เลือกมากมายทั้งเตาแก๊ส เตาไฟฟ้า เตาอินดักชั่น/เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เตาตั้งพื้น เตาอบ เตาอบแบบฝังเฟอร์นิเจอร์ อ่างล้างจาน เครื่องล้างจาน และเครื่องดูดควัน รับประกันคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม